เพราะไม่ใช่ทุกๆ คนที่อยากทำ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ไม่ว่าเหตุผลจะเป็นเพราะมันยากเกินไปหรือมันยังเป็นเรื่องใหม่สำหรับใครหลายๆ คน หรืออะไรก็ตาม
แต่วันนี้ลองมาดูกันก่อนตัดสินใจจะลงมือทำ มาดูว่ามันเสี่ยงขนาดไหนกัน จะได้รู้ๆ กันไปเลยว่าจะคุ้มค่าไหมถ้าเกิดเรายอมเสี่ยงไม่ทำ
ตามที่เราเคยบอกตอนแรกๆ ว่ากฎหมายนี้เขาบังคับทำก่อนจะถึงวันที่ 1 มิถุนายน 2564 (ข้อมูลเบื้องต้นตรงนี้สามารถตามไปอ่านได้ตาม Link นี้ : https://tregdotblog.wpcomstaging.com/blog/pdpa/what-is-pdpa/)
สถานการณ์จำลอง
เราเป็นบริษัทนึงที่เก็บข้อมูลลูกค้า และบางทีฝ่ายการตลาดของเราก็นำข้อมูลของลูกค้าไปยิงแอดบ้าง เอาข้อมูลพวกนี้มานำเสนอเป็นรายงานให้ทีมบริหารดูบ้าง
แต่! เราไม่ได้ขอความยินยอมจากลูกค้า ไม่ได้มีการประกาศนโยบายความเป็นส่วนตัว บางทีก็เอาไฟล์ข้อมูลลูกค้าโยนไปในกลุ่มแชทส่วนตัวเพื่อส่งงานให้หัวหน้าตรวจ
จนเวลาก็ผ่านไปจนถึงวันที่ 1 มิ.ย. 2564 …
ปรากฏว่าลูกค้าคนนั้นฟ้องร้องเรา เพราะจู่ๆ เขาก็ได้รับจดหมายโฆษณาเต็มไปหมดหลังจากเขาให้ข้อมูลเรา นั่นทำให้เขาไม่พอใจ สุดท้ายลูกค้าเขาก็เลือกฟ้องเราก่อนเพราะว่าเราไม่เคยทำข้อตกลงหรือเอกสารขอความยินยอมในการใช้ข้อมูลของเขา เขาจะฟ้องร้องบริษัทคุณ เพราะคุณไม่ได้เตรียมการไว้เลย นั่นไม่ใช่สิ่งดีเลยสำหรับ Data Subject หรือเจ้าของข้อมูล
โทษ PDPA ที่คุณต้องเจอ ถ้าไม่ Comply

จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าข้อมูลที่รั่วไหลก่อให้เกิดความเสียหายต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนไม่เกิน 2 เท่า

ปรับสูงสุด 5 ล้านบาท
เสียอะไรเล่า ไม่เท่าเสียดาย
สำหรับองค์กรหรือบริษัท เราก็คงไม่อยากเสียเงิน เสียเวลาในการแก้ไขปัญหา และที่สำคัญคือชื่อเสียงขององค์กรที่ต้องมาเสียท่ากับเรื่องสำคัญๆ แบบนี้
นี่จึงเป็นที่มาที่เราย้ำนักหนาว่า มันช่วยทั้งคนที่ใช้ข้อมูลและตัวเจ้าของข้อมูล แถมยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับประเทศไทยของเราหากชาวต่างชาติมาฝากข้อมูลไว้ที่เรา
ในท้ายที่สุดก็คงพูดได้ว่า “ทุกองค์กรที่มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล” ต้องทำ PDPA นั่นเอง
Reference : https://gdpr-info.eu/