]

t-reg PDPA Platform

Email Privacy เยอะเกินไป

Privacy Policy Email ทำไมถึงส่งมาเยอะเกินไป?

เนื้อหาในบทความ

เคยสงสัยรึเปล่าว่าทำไมใน Inbox มีจดหมายเยอะขึ้นเรื่อยๆ ทุกวัน แล้วส่วนใหญ่เป็น Privacy Policy ด้วย จะส่งมาทำไมนักหนา เกิดอะไรขึ้น แล้วเราจะแก้ไขได้รึเปล่า บทความมีคำตอบให้คุณ

ในช่วงที่ GDPR ถูกบังคับใช้ใน EU ที่ไทยก็น่าจะเริ่มร่าง PDPA (พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล) ทั้งสองอย่างนี้คือกฎหมายที่มีข้อบังคับใช้เดียวกัน แทบจะเรียกว่าถูกถอดแบบมาเลยก็ได้ (อยากรู้ว่าทำไมถึงมี PDPA ในไทย อ่านได้ที่นี่ https://tregdotblog.wpcomstaging.com/blog/pdpa/what-is-pdpa/)

ซึ่ง GDPR (หรือ PDPA เวอร์ชันไทย) กำหนดไว้ว่า ถ้ามีผู้ใช้สินค้าหรือบริการของคุณแล้วต้องเก็บข้อมูลส่วนตัว อย่างเช่น ชื่อ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล ฯลฯ ไว้กับคุณ คุณมีหน้าที่แจ้งนโยบายการใช้ข้อมูลเหล่านี้กับผู้ใช้บริการ (Data Subject) นี่คือวิถีที่ควรเป็นไป…

ส่งเมลแต่พอดี อย่าให้ Inbox รก

แต่คราวนี้นี่สิ พอทางผู้ให้บริการอย่าง Data Processor หรือ Data Controller ต้องแจ้งว่าจะใช้งานข้อมูลส่วนตัวของเรา เขาก็จะส่งอีเมลเข้ามาใน Inbox ซึ่งจากเดิมที่มันเยอะอยู่แล้ว พอมีบังคับใช้ GDPR ยิ่งเยอะเข้าไปอีก ทรงคล้ายๆ กับ Tab กล่องจดหมายใน Gmail บางทีก็จัดข้อความที่เข้ามาไม่เป็นระเบียบเอาซะเลย

ทำให้เสร็จๆ ไปก่อนแล้วกัน

พอฝั่งผู้ออกกฎหมายนี้ของ EU มารู้เข้าก็ถึงกับส่ายหน้าแล้วบอกว่า นั่นไม่ใช่แบบที่ต้องการเลย เราต้องการเพียงแค่ให้คุณมีข้อตกลง ให้ผู้ใช้บริการ (Data Subject) มีเสรีภาพในการจะให้หรือไม่ให้ข้อมูล ไม่เอาแบบนี้ ไปทำมาใหม่! เอาให้เห็นว่ามีการยอมให้ Consent และมีการบอกจุดประสงค์กับผู้ใช้งาน ถ้าเขาอยากให้ลบข้อมูลออกก็ต้องลบให้เขา

อย่าทำกับ Privacy Policy แบบนี้

แต่พอใกล้จะถึงวันบังคับใช้ GDPR บวกกับวิถีการทำยังไม่ใช่แบบที่ผู้ออกกฎหมายต้องการ แต่ถ้าไม่ทำก็โดนค่าปรับอ่วม เพราะฉะนั้นจึงเกิดกลวิธีประหลาดๆ ขึ้น เราขอร้องว่าอย่าทำแบบนี้กับ PDPA

  • รู้ว่าคนไม่อ่าน Policy ก็แอบแทรกบางข้อที่เอื้อประโยชน์เพื่อจะได้เก็บข้อมูลไป
  • ไม่ยอมให้ใช้บริการต่อถ้ายังไม่ตกลงให้เก็บข้อมูล

เนื้อแท้ของเรื่องนี้

ในมุมมองชาวไทยแบบเราที่กำลังจะเริ่มใช้ PDPA เต็มรูปแบบเร็วๆ นี้แล้ว เราอยากให้สิ่งนี้เป็น Use case กรณีศึกษาเรื่อง Privacy อย่างหนึ่งที่น่าตระหนักคิดระหว่างการดำเนินธุรกิจกับสิทธิมนุษย์ ควร Balance ให้ตราชั่งเท่ากัน ให้ความเป็นธรรมกับผู้ใช้งานจริงๆ

คราวนี้ก็อยู่ที่จริยธรรมของผู้ให้บริการและผู้ประมวลผลข้อมูลแล้วว่า คุณพร้อมจะมอบความมั่นใจกับลูกค้าอย่าง “ตรงไปตรงมา” ไหม? หรือคุณสนใจการสร้างรายได้เพียงอย่างเดียว

โดยผิวเผินแล้วข้อบังคับกฎหมายมีไว้ให้เพื่อขู่ให้ แต่นั่นคือระเบียบแบบแผนที่ “ควร” ทำเพื่อทำให้เกิดประโยชน์กับมนุษย์ที่อยู่ร่วมกันกับคุณ

อยากให้มองภาพว่า ถ้าคุณอยู่ในสภาพผู้ใช้งานหรือเป็นลูกค้าเสียเอง แต่คุณโดนบังคับกรอกข้อมูล บังคับให้ยินยอมกับทุกอย่างที่เขายังไม่เข้าใจดี บังคับให้ตกลงให้ข้อมูลกับเราเพราะถ้าคุณไม่ตกลงคุณจะไม่ได้ใช้งาน

แล้วคุณอยากได้อะไรมากกว่ากัน รายได้ หรือ ความจริงใจ

Ref : https://www.wired.com/story/how-a-new-era-of-privacy-took-over-your-email-inbox

FREE EVENT

ร่วมฟังแนวทางเปลี่ยนความท้าทาย ให้กลายเป็นโอกาส ด้วยไกด์ไลน์การทำโครงการ PDPA ควบคู่กับ Digital Transformation โดย ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี และกฎหมาย PDPA จาก t-reg พบกับผู้เชี่ยวชาญของ t-reg PDPA Platform ที่ให้คำปรึกษาพร้อมเทคโนโลยี ในการพาองค์กรชั้นนำของประเทศไทยมามากกว่า 50 องค์กร สำเร็จโครงการ PDPA แบบยั่งยืน

ร่วมฟังแนวทางที่ท่านจะได้รับทราบข้อมูลอัพเดทเกี่ยวกับตัวกฎหมาย และแนวทางการตรวจสอบในเชิง Audit ว่าองค์กรของท่านนั้นยังคงรักษามาตรการการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้เป็นอย่างดีหรือไม่ กฎหมายที่ออกเพิ่มเติมมาส่งผลต่อท่านอย่างไร และกระบวนการ Audit ที่เข้มข้น

RELATED POST
PDPA คืออะไร
t-reg knowledge

PDPA คืออะไร ?

PDPA ย่อมาจาก Personal Data Protection Act พ.ร.บ. นี้เป็นกฎหมายว่าด้วยการให้สิทธิ์กับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล สร้างมาตรฐานการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลให้ปลอดภัย และนำไปใช้ให้ถูกวัตถุประสงค์ตามคำยินยอมที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอนุญาต

อ่านต่อ »
Digital Transformation และ กฎหมาย PDPA
t-reg knowledge

Digital Transformation & PDPA เรื่องไม่ใหม่ที่องค์กรไทยต้องใส่ใจ

Digital Transformation (DX) เป็นคำที่หลากหลายองค์กร และธุรกิจทุกภาคส่วนเริ่มได้ยิน และรู้สึกได้ถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร และการทำธุรกิจ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับกฎหมาย

อ่านต่อ »
dpo
t-reg knowledge

DPO คือใคร?, 6 คำถามยอดฮิตที่พบบ่อยในองค์กร

แท้จริงแล้ว DPO หรือ Data Protection Officer คือใคร มีหน้าที่อะไร คุณสมบัติแบบไหนที่เหมาะกับการทำหน้าที่นี้ องค์กรแบบไหนควรมี DPO แล้วสามารถจ้าง Outsource ได้หรือไม่

อ่านต่อ »

ส่งต่อบทความดีๆ ได้ที่นี่