การทำ Audit ในองค์กรเป็นกิจกรรมที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ทว่าทุกครั้งที่มีการตรวจสอบการดำเนินการในองค์กร มักชี้ให้เห็นถึงจุดบอด จุดอ่อน และความผิดพลาดของกระบวนการบางขั้นตอนในองค์กรได้เป็นอย่างดี ขณะเดียวกันการละเลยการตรวจสอบเป็นเวลานาน ถือเป็นการละเลยปัญหาที่อาจย้อนกลับมาสร้างปัญหาที่ใหญ่กว่า และผลกระทบรุนแรงกว่าได้เช่นกัน
ตามที่ได้เกริ่นไปในบทความก่อนหน้า ว่ากฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไม่ใช่เรื่องใหม่ องค์กรมีความรู้ความเข้าใจ และกระบวนการทางเทคนิคและนโยบายได้ดำเนินการจนสำเร็จแล้วในหลายองค์กร ขณะเดียวกันองค์กรที่ Implement โครงการ PDPA แล้ว เริ่มมีความกังวลว่าโครงการ PDPA ในองค์กรมีความครบถ้วนสมบูรณ์หรือไม่? ประกาศ ระเบียบ และแนวทางของกฎหมาย PDPA มีการเผยแพร่เพิ่มหลายฉบับ องค์กรรู้เท่าทันกฎหมายแค่ไหน? ทีมที่ดูแลกระบวนการ เจ้าหน้าที่ DPO มีการโยกย้ายตำแหน่งหรือลาออก มีการปรับกลยุทธ์หรือนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ สิ่งใหม่เหล่านี้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่? ยังคงเป็นคำถามที่ท้าทายองค์กรเป็นอย่างมาก และส่วนใหญ่ไม่สามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้ชัดเจน 100%
ทั้งหมดนี้จึงเป็นที่มาของการเริ่มมองหากระบวนการตรววจสอบภายใน และกระบวนการ PDPA Audit เพื่อมาปฏิบัติการเชิงรุก และเริ่มตรวจสอบความถูกต้องของโครงการ PDPA ภายในองค์กร ในบทความนี้ t-reg มีทางออกสำหรับปัญหามาแบ่งปันท่านที่กำลังกังวลใจ สามารถช่วยลดข้อสงสัย ช่วยให้องค์กรประหยัดเวลาในการหาออกได้ 100%
PDPA Audit คืออะไร?

PDPA Audit หรือการสอบทานโครงการ PDPA เป็นการตรวจสอบการปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ 2562 หรืออาจเรียกว่าเป็นกระบวนการตรวจสอบความครบถ้วนของการปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมาย PDPA เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการกระทำผิด ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ 2562
การตรวจสอบกระบวนการภายในโครงการ PDPA มักเป็นการตรวจสอบทั้งมาตรการเชิงเทคนิค และมาตรการเชิงบริหารจัดการ อาทิ RoPA, Data Flow Diagram, Audit log, การประกาศ Privacy Notice, นโยบายการทำลายข้อมูลส่วนบุคคล (Data Deletion Policy), การประเมินผลกระทบด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPIA) ฯลฯ ซึ่งมาตรการเหล่านี้ องค์กรที่ทำโครงการ PDPA มักจะมีการดำเนินการอยู่แล้ว อาจมีรายละเอียดแตกต่างกันไปตามประเภทธุรกิจ
ทำไมองค์กรควรลงทุนกับ PDPA Audit
การทำ PDPA Audit เปรียบเสมือนการตรวจสุขภาพ
การตรวจสอบที่ครอบคลุมช่วยทำให้องค์กรทราบถึงความบกพร่องที่อาจปรากฎอยู่ในขั้นตอนบางขั้นตอนของกระบวนการ PDPA ที่ทีมภายในอาจมองข้ามหรือละเลยไป เมื่อทราบถึงความบกพร่องหรือช่องโหว่แล้ว องค์กรก็สามารถวางแผนดำเนินการปรับปรุงแก้ไขให้ทันท่วงที ลดความเสี่ยง ลดการลงโทษจากการละเลยหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมาย หรือที่เรียกว่า การละเลยมาตรการเชิงเทคนิคและเชิงบริหารจัดการเพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล อันเป็นหน้าที่ของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ตามแนวปฏิบัติเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ทั่วไปของผู้ควบคุมและผู้ประมลผลข้อมูล ที่ระบุไว้ใน Thailand Data Protection Guideline 3.0
การสอบทานโครงการ PDPA เป็นหนึ่งในการขับเคลื่อนกระบวนการ PDPA ที่ทำมาแล้วให้ไม่สูญเปล่า และช่วยวัดว่า กระบวนการที่องค์กรดำเนินมาตั้งแต่ต้น เป็นกระบวนการที่มีประสิทธิภาพมากพอที่จะขับเคลื่อนกระบวนการ PDPA ในระยะยาวได้หรือไม่ โครงสร้างหลักของโครงการ PDPA มีความแข็งแรงเพียงใด และโครงการ PDPA พร้อมรับความท้าทายในอนาคตหรือไม่ หากมีการประกาศเพิ่มเติมจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ ให้ดำเนินการเรื่องอื่นๆ เพิ่มเติม แม้จะมีภาพจำว่าการทำ Internal Audit จะเป็นการรื้อฟื้นปัญหา เพิ่มภาระงาน หรืออาจร้ายแรงถึงขั้นรื้อรูปแบบการทำงานเดิม ทว่าในทางกลับกัน การรื้อระบบที่ไม่ได้ประสิทธิภาพและแทนที่ด้วยกระบวนการหรือเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพมากกว่า เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าและลดภาระงานในระยะยาวได้
การสอบทานช่วยสนับสนุนการทำงานของ DPO แม้องค์กรส่วนใหญ่จะมี DPO ที่ดูแล นโยบาย Work Flow และกระบวนการ PDPA ในองค์กร ทว่า DPO ที่เป็นพนักงานภายในองค์กรมักมีทั้ง Main Job และ Side Job ทำให้ภาระงานจึงไม่ใช่เพียงแค่การดูแลกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับ PDPA เท่านั้น แต่อาจมีภาระงานอย่างอื่นที่ต้องแบกรับด้วย ขณะเดียวกัน กระบวนการ PDPA ซึ่งเป็น Ongoing process ต้องมีการอัปเดตกฎหมาย นโยบาย มีการตรวจเช็ค เพิ่ม/ลด ข้อมูล ยังต้องมีการจัดการ Consent, RoPA, หรือประสานงานกับพาร์ทเนอร์หรือองค์กรภายนอกอยู่บ่อยครั้ง
การทำงานของ DPO ซึ่งทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบกระบวนการเหล่านี้ จึงควรมีการตรวจสอบความถูกต้อง แต่เมื่อพูดถึงการตรวจสอบ ก็มักมีภาพจำในเชิงลบว่า จะเป็นการจับผิดการทำงาน อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบกระบวนการภายใน ไม่ได้มีปลายทางเพื่อจับผิด แต่เพื่อยืนยันว่ากระบวนการที่องค์กรทำมาตั้งแต่ต้น มีจุดไหนที่ยังขาด หรือมีจุดไหนที่ทำเกินความจำเป็น หากทราบในจุดนี้แล้ว จะช่วยให้องค์กรสามารถบริหารจัดการทรัพยากร หรือ Manpower ได้อย่างเหมาะสม
และที่สำคัญที่สุด การสอบทานโครงการ PDPA เป็นการตรวจสอบว่า PDPA ในองค์กร Comply กับ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงกฎหมาย ข้อกำหนด และประกาศอื่นๆ มากน้อยเพียงใด
หลังสอบทานโครงการ PDPA แล้วควรทำอะไรต่อ?
การสอบทานโครงการ PDPA ไม่ใช่การดำเนินการตรวจสอบแล้วจบไป กระบวนการหลังจากสอบทาน เช่น ทิศทาง และแผนการดำเนินการ เป็นสิ่งสำคัญที่องค์กรจะต้องดำเนินการต่อ โดยเริ่มจากการนำข้อมูลที่ได้จากการ Audit มาเป็นข้อมูลตั้งต้นในการวางแผนแก้ไข ปรับปรุง หรือเลือกใช้เทคโนโลยีในการปรับปรุงกระบวนการที่ตรวจพบว่าบกพร่อง ผิดพลาด ไม่เป็นระบบ

ความเป็นไปได้หลังการสอบทานโครงการ PDPA มีอยู่ 3 กรณีคือ
1.โครงการ PDPA มีความครบถ้วนสมบูรณ์ในทุกๆ ด้าน ไม่พบข้อบกพร่องที่ต้องดำเนินการแก้ไขทันที
2.พบข้อบกพร่องในโครงการ PDPA ในกระบวนการเชิงเทคนิค หรือนโยบาย
3.พบข้อบกพร่องในโครงการ PDPA ทั้งกระบวนการเชิงเทคนิค และนโยบาย ข้อบกพร่องเหล่านั้นเสี่ยงต่อการโดนโทษจากหน่วยงานที่รับผิดชอบหรือถูกฟ้องร้องจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
กรณีที่ควรรีบดำเนินการแก้ไขทันที เมื่อจบกระบวนการสอบทาน คือ กรณีที่พบข้อบกพร่องในโครงการ PDPA ทั้งกระบวนการเชิงเทคนิค และนโยบาย ข้อบกพร่องเหล่านั้นเสี่ยงต่อการโดนโทษจากหน่วยงานที่รับผิดชอบหรือถูกฟ้องร้องจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เหตุที่ต้องเร่งดำเนินการแก้ไข เนื่องจากความหละหลวมที่เกิดขึ้น หากยังคงดำเนินการเก็บ รวบรวม ใช้ข้อมูลส่วนบุคคลต่อไปโดยไม่ปรับปรุงกระบวนการ เมื่อเกิดเหตุข้อมูลรั่วไหล หรือมีการตรวจสอบจาก External Audit อาจเสี่ยงถูกลงโทษ ฟ้องร้อง เหมือนกับกรณีที่เคยเกิดขึ้นในต่างประเทศ
อ่านเคสตัวอย่างของการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ได้ที่นี่
แนวทางการดำเนินการในกรณีที่ PDPA พบข้อบกพร่อง องค์กรอาจเริ่มจากการประเมินกระบวนการที่ต้องเร่งดำเนินการก่อน โดยประเมินทั้งด้านกระบวนการ เทคโนโลยี และทรัพยากรคน หรืออาจเริ่มตามแนวทางที่ Auditor แนะนำ ซึ่ง Auditor จะมีการระบุกระบวนการ ขั้นตอน หรือนโยบายที่องค์กรต้องดำเนินการปรับปรุงเมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการตรวจสอบเป็นปรกติอยู่แล้ว
กรณีที่องค์กรพบข้อบกพร่องในโครงการ PDPA ในกระบวนการเชิงเทคนิค หรือนโยบาย คือ กรณีที่องค์กรมีการดำเนินการที่ตกหล่น หรือยังขาดการดำเนินการในส่วนใดส่วนหนึ่ง ทว่าโครงสร้างหลักของโครงการ PDPA มีความครบถ้วน ในกรณีนี้องค์กรสามารถวางแผนปรับปรุงหรือเพิ่มกระบวนการที่ยังขาดได้ ข้อควรระวังคือ ไม่ควรละเลยกระบวนการที่ต้องปรับปรุงหรือดำเนินการเพิ่มเติม อาจทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาได้
กรณีสุดท้าย เป็นภาพฝันที่หลายองค์กรต้องการให้เกิดขึ้นหลังจากสอบทาน นั่นคือการที่โครงการ PDPA มีความครบถ้วนสมบูรณ์ในทุกๆ ด้าน ไม่พบข้อบกพร่องที่ต้องดำเนินการแก้ไขทันที กรณีนี้จะเกิดขึ้นได้จากความพร้อม ความครบถ้วนทั้ง People Process and Technology อย่างไรก็ตาม องค์กรควรมีการติดตามกระบวนการทางเทคนิคและนโยบายอยู่สม่ำเสมอ เพื่อให้โครงการ PDPA มีความพร้อมรับ External Audit และพร้อมรองรับการไหลเวียนของข้อมูลส่วนบุคคลที่ยังคงเกิดขึ้นขณะที่ดำเนินธุรกิจ
แม้ผลลัพธ์โครงการ PDPA ภายหลังการตรวจสอบจะได้ผลอย่างไร สิ่งที่องค์กรควรพิจารณาต่อคือ การมีแผนขับเคลื่อนโครงการ PDPA ที่ครบถ้วนและครอบคลุมในระยะยาว และควรเป็นแผนขับเคลื่อนที่ลดภาระงาน มีระบบบริหารจัดการที่ช่วยให้เกิด Data Flow และช่วยให้การใช้งานข้อมูลส่วนบุคคลมีประสิทธิภาพภายในฐานของกฎหมาย ใช้เทคโนโลยีเข้ามาขับเคลื่อนเพื่อความแม่นยำ เหมาะกับบริบทการใช้งาน Big Data ในอนาคต และเป็นมิตรกับลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ
หากเป้าหมายถัดไป ภายหลังการตรวจสอบเสร็จสิ้นคือการขับเคลื่อนโครงการ PDPA ที่ครบถ้วนและครอบคลุมในระยะยาว ชวนอ่านบทความเรื่อง “Increase Customer Data Utilization เพิ่มความสามารถในการใช้ข้อมูลภายใต้กรอบของกฎหมาย ด้วย PDPA Platform by t-reg”
แต่ก่อนจะวางแผนขับเคลื่อนในระยะยาว องค์กรควรเริ่มต้นตรวจสอบความพร้อม ความครบถ้วนของการปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมาย PDPA ด้วยการสอบทานโครงการ PDPA เสียก่อน
สำเร็จกระบวนการ Audit ด้วย PDPA Intensive Audit pack by t-reg ภายใน 26-31 วัน
t-reg ได้คิดค้นและออกแบบบริการสอบทาน (Audit) ด้วยแนวคิด Stop Pain & Gain trust ลดข้อสงสัย ความกังวล ความไม่แน่ใจ เพื่อให้องค์กรมั่นใจในกระบวนการ ขั้นตอน หรือนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ PDPA สิ่งสำคัญที่จะได้รับอีกหนึ่งอย่าง คือความเชื่อมั่นและความไว้วางใจจากผู้ใช้บริการที่ได้ให้ความยินยอมในการประมวลผลข้อมูลแก่องค์กร ลูกค้าที่ซื้อผลิตภัณฑ์หรือบริการ รวมถึงพนักงานภายในองค์กรและนักลงทุน จากการที่องค์กรสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนด (Comply) กฎหมายที่เกี่ยวข้องได้อย่างครบถ้วน
แนวคิดนี้ ได้กลายเป็นจุดกำเนิดของบริการ PDPA Intensive Audit Pack by t-reg หรือบริการตรวจสอบความครบถ้วนของการปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมาย PDPA เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการกระทำผิด ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ 2562
โดย t-reg มุ่งเน้นในเรื่องการตรวจสอบที่ละเอียดในทุกขั้นตอน ทุกกระบวนการ ทุกแผนก เพื่อให้องค์กรรู้เท่าทันจุดบกพร่องและจัดการความเสี่ยงของโครงการ PDPA ได้ ภายในระยะเวลาเพียง 26-31 วัน ลดภาระงานที่ไม่จำเป็น ไม่สร้างภาระงานใหม่ ทำให้การตรวจสอบไม่กระทบกับงานหรือบริการส่วนอื่นๆ ขององค์กร
Our Stenght: จุดแข็งของบริการสอบทานโครงการ PDPA จาก t-reg
- กระบวนการสอบทานที่เข้มข้นของ t-reg ยึดโมเดลการดำเนินการที่เรียกว่า 3E Mothodology อยู่บนหลักการสากล 4 Lines of Defense ทุกขั้นตอนมีขอบเขตเนื้อหาและกรอบเวลาในการดำเนินการที่ชัดเจน ทว่าองค์กรสามารถบริหารจัดการเวลา มีความยืดหยุ่นตามแผนขององค์กร

Evaluate กระบวนการประเมินก่อนสอบทาน ด้วย PDPA Audit Checklist 16 ข้อ ที่ครอบคลุมกระบวนการทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ทรัพยากรมนุษย์ (People) กระบวนการหรือวิธีการที่เกี่ยวข้อง (Process) และเทคโลยีหรือนวัตกรรม (Technology) โดยสามารถประเมินรูปแบบการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลตาม Business Context ขององค์กรเพื่อหาช่องโหว่ (Gap) และความเสี่ยง (Risk) ในโครงการ PDPA พัฒนาโดยผู้เชี่ยวชาญและนักกฎหมายที่มีความเข้าใจกฎหมาย PDPA และกฎหมายที่เกี่ยวข้องของแต่ละธุรกิจ
Extract กระบวนการรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ (Interview) คณะทำงานที่เกี่ยวข้องหรือใช้งานข้อมูลส่วนบุคคล เช่น HR, Marketing, Sale, Customer Servise, IT และอื่นๆ รวมถึงขั้นตอนการส่งมอบเอกสาร และแจกแจงนโยบาย วิธีการ ขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับพ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ 2562 ให้กับ Auditor เพื่อการวิเคราะห์และตรวจทานความถูกต้อง
Execute Report สรุปผลที่ได้จากขั้นตอน Evaluate นำเสนอในรูปแบบรายงานการตรวจสอบ (Report) แบ่งเป็น
- First Draft Audit Report ร่างรายงานฉบับแรกจะถูกส่งมอบให้กับองค์กร ภายในรายงานประกอบด้วย สรุปผลการตรวจสอบเอกสาร นโยบาย วิธีการ ขององค์กร และ Guideline แก้ไขปรับปรุงกระบวนการ PDPA ที่ถูกต้อง ส่งมอบให้กับองค์กรเพื่อนำไปพัฒนากระบวนการ PDPA
- Revise Audit Report องค์กรดำเนินการแก้ไข ปรับปรุง พัฒนากระบวนการที่บกพร่อง ตาม Guideline และส่งรายงานกลับมายัง Auditor เพื่อวิเคราะห์และตรวจทานความถูกต้องอีก
- Final Audit Report รายงานผลการสอบทานฉบับสมบูรณ์ ที่แสดงให้เห็นถึงการประเมินความเสี่ยง พร้อมแนวทางบรรเทาความเสี่ยง และข้อเสนอแนะในการควบคุมการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลให้เหมาะสมกับองค์กร สามารถใช้เป็นหลักฐานยืนยันว่าได้มีการตรวจสอบภายใน (Internal Audit) อย่างถูกต้อง
- t-reg Auditor คือทีมผู้เชี่ยวชาญและนักกฎหมาย ที่มีประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการโครงการ PDPA ได้รับความไว้วางใจให้ดูแล PDPA ขององค์กรขั้นนำขนาดใหญ่กว่า 50 บริษัท ดูแลองค์กรด้วยความเข้าใจ พร้อมให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่ครั้งแรกที่เร่ิมกระบวนการ ในระหว่างกระบวนการและหลังจบกระบวนการ
ประสบการณ์ดูแลโครงการ PDPA ครอบคลุมทุก Industrial Segment อาทิ
Manufactoring
อ่าน PDPA Success Story ของ มาม่า (Thai President Foods)
E-Commerce
อ่าน PDPA Success Story ของ ศรีจันทร์ (Srichand)
Healthcare
อ่าน PDPA Success Story ของ Principle Healthcare
นอกจากนี้ ยังมี Industrial Segment อาทิ Hospitality (Lub-D) Financial (Cyptomind) Insurance (เทเวศประกันภัย) และอื่นๆ อีกกว่า 50 องค์กร เรามุ่งมั่นที่จะใช้จุดแข็ง ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญของเรา เพื่อดูแลและสนับสนุนการตรวจสอบภายในองค์กรให้เป็นไปได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพสูงสุด
องค์กรไหน? เหมาะกับบริการสอบทานจาก t-reg

หากยังลังเลว่าบริการสอบทานของเรา เหมาะกับองค์กรของคุณหรือไม่? ต้องเป็นองค์กรประเภทไหนที่เหมาะกับบริการของ t-reg เช็คได้จาก Checklist นี้
- องค์กรที่เป็น Data Controller หรือ Data Processor มีการเก็บ รวบรวม ใช้ ข้อมูลส่วนบุคคล
หากองค์กรของท่าน มีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจ เกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล จะถือว่าเป็น ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือ Data Controller
แม้ว่าองค์กรจะไม่มีอำนาจในการเก็บ รวบรวม ใช้ ข้อมูลส่วนบุคคลโดยตรง แต่เป็นบุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับ การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ตามคำสั่งหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ก็ถือเป็น ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล หรือ Data Processor หากมีคุณสมบัติตรงตามนิยามอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่าง และมีคุณสมบัติเป็นองค์กรธุรกิจขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีพนักงานภายในองค์กรตั้งแต่ 200-300 คนขึ้นไป กฎหมายกหนดให้องค์กรที่มีคุณสมบัติข้างต้น
หากองค์กรของท่านเป็น Data Controller หรือ Data Processor และมีบริบทดังต่อไปนี้ ก็ควรพิจารณาดำเนินการสอบทานโครงการ PDPA ด้วย
องค์กรที่ดำเนินการตามข้อกำหนดของกฎหมาย PDPA เรียบร้อยแล้ว และมีความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนกระบวนการ PDPA ให้สำเร็จในระยะยาว ไม่ต้องการเริ่มต้นทำโครงการ PDPA ใหม่
องค์กรมีเจ้าหน้าที่ DPO (ทั้ง Internal DPO และ Outsourced DPO) ต้องการสุ่มตรวจสอบการดำเนินงานงาน วิธีบริหารจัดการโครงการ PDPA ของ DPO และพนักงานในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลทั้งข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป และข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว
องค์กรที่จะมี External Audit เข้ามาตรวจสอบประจำปี
องค์กรที่อยู่ในขั้นตอนเตรียมความพร้อมของกระบวนการภายในเพื่อเข้า ระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ ทั้ง SET และ mai หรือมีแผนดำเนินการตรวจสอบตามมาตรฐาน ISO 27001(มาตรฐานความปลอดภัยสารสนเทศ)
หากองค์กรของท่านอยู่ในบริบทข้างต้น แม้เพียง 1 หรือ 2 บริบท หรือสถานการณ์องค์กรไม่ตรงกับบริบทใดเลยก็ตาม ทว่ามีอำนาจของ Data Controller หรือ Data Processor ก็ควรพิจารณาดำเนินการการตรวจสอบการปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ 2562 ด้วย
สรุป การสอบทานโครงการ PDPA ในองค์กรที่มีกระบวนการ PDPA เป็นสิ่งที่จำเป็น และมีประโยชน์ต่อการดำเนินการ นโยบาย ความยั่งยืนของโครงการ PDPA ในองค์กร และเป็นเครื่องยืนยันที่สำคัญของการเป็นองค์กรที่มีมาตรฐาน ตามข้อกำหนดของกฎหมาย และมาตรฐานการดำเนินงานในระดับสากล สิ่งสำคัญของการริเริ่มกระบวนการสอบทานคือการเลือกผู้ให้บริการสอบทานที่มีความน่าเชื่อถือ มีองค์ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และมีความเข้าใจบริบทของธุรกิจ สิ่งเหล่านี้จะทำให้กระบวนการสอบทาน มีความละเอียดรอบคอบ สามารถบรรลุการตรวจสอบที่สมบูรณ์ได้ในครั้งเดียว
เริ่มตรวจสอบด้วยกระบวนการที่แม่นยำได้แล้ววันนี้ ด้วย บริการสอบทานจาก t-reg รับส่วนลดและข้อเสนอดีๆ
โทร 089-698-2591
รับชมบริการของเราได้ที่ t-reg.co