]

t-reg PDPA Platform

digital transformation roadmap

Digital Transformation Roadmap แผนสำคัญที่องค์กรต้องรู้ก่อนทำ Digital Transformation

เนื้อหาในบทความ

จากบทความก่อนหน้าที่พูดถึงเทรนด์ PDPA Thailand พร้อมความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในแวดวงธุรกิจ และทำความเข้าใจเรื่อง Digital Transformation ในเบื้องต้น ทำให้เห็นระบบความสัมพันธ์ของกฎหมาย PDPA กับกลยุทธ์ทางเทคโนโลยีที่นำมาปรับใช้ร่วมกันได้
และจากบทความที่แล้ว เราพาผู้อ่านทำความเข้าใจ Digital Transformation (DX) และประโยชน์จากการทำ DX เพื่อเปลี่ยนผ่านรูปแบบการทำธุรกิจแบบเดิม ไปสู่การขับเคลื่อนธุรกิจด้วยเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพมากกว่า ทว่า DX ยังมีรายละเอียดมากกว่านั้น 

นอกจาก การที่องค์กรวางแผนและดำเนินการ DX ได้อย่างถาวรแล้ว การที่องค์กรจะขับเคลื่อนระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลให้ครอบคลุมทุกกิจกรรม ทุกกระบวนการ และคำนึงถึงผู้ใช้งานเป็นหลัก ต้องอาศัยการใช้แนวทางเฉพาะ เพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการดำเนินการ

ในบทความนี้จึงอยากพาผู้อ่านทุกท่าน ไปทำความเข้าใจ รายละเอียดและขั้นตอนสำหรับการทำ Digital Transformation ข้อที่ควรคำนึงถึงสำหรับการวางกลยุทธ์  พร้อมด้วยแนวคิด แนวทางที่ควรทราบเกี่ยวกับการริเริ่มทำ Digital Transformation 

Digital Transformation Review

ก่อนไปเข้าใจรายละเอียดของการทำ Digital Transformation ชวนผู้อ่านทุกท่านศึกษาเทรนด์ของ DX ไปพร้อมๆ กัน

Digital transformation (DX) คือ การนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เปลี่ยนแปลงการทำธุรกิจ โดยใช้กลยุทธ์ทางเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานขององค์กรและธุรกิจในทุกด้าน

หากจะสรุปที่มาของ DX อย่างรวบรัด อาจกล่าวได้ว่า การเปลี่ยนผ่านด้วยกลยุทธ์ทางเทคโนโลยี เกิดขึ้นเพราะโลกในปัจจุบันหมุนไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วในทุกๆ ด้าน ทั้งในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ด้านการใช้ชีวิต ด้านการพัฒนากระบวนการ ด้านความต้องการของมนุษย์ อ่านเพิ่มเติม ข้อได้เปรียบสำหรับองค์กรที่ทำ Dx

DX เป็นผลพวงมาจาก Digital Disruption หรือสภาวะที่ธุรกิจถูกทำให้หยุดชะงัก อันเนื่องมาจากเทคโนโลยีดิจิทัลและเทคโนโลยีที่ใช้ในการทำธุรกิจพัฒนา มีการพัฒนาต่อยอดอย่างรวดเร็ว ที่มาของ Digital Disruption ในองค์กร เกิดจากการพัฒนาเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดด หรือการพัฒนาที่หยุดนิ่งอยู่กับที่ภายในตัวองค์กร หรือการมี “Disruptive Challenge” จากผู้ที่เข้ามาแข่งขันในธุรกิจ

DX เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาในระยะหนึ่งแล้ว มีตัวอย่างองค์กรที่ทำ DX ให้เห็นกันอยู่ไม่น้อย ทว่าคนอาจไม่ได้มองว่าเป็นการทำ DX จนกระทั่งในช่วง 5 ปีให้หลัง องค์กรก็เริ่มหยิบยกเรื่อง DX มาถกเถียงกันอีกครั้ง ตัวเร่งสำคัญที่ทำให้องค์กรต้องใช้กลยุทธ์ของ DX มาปรับปรุงการดำเนินธุรกิจ มาจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ที่สร้างความสั่นคลอนให้การทำธุรกิจรูปแบบเดิม ต้องรีบหาลู่ทาง หรือหาวิธีเอาตัวรอดในยุคที่การดำเนินธุรกิจไม่อาจดำเนินตามความปรกติได้

Digital Transformation Trend

ย้อนไปในปี 2020 Forbes ได้เผยแพร่ การคาดการณ์  10 Digital Transformation Trends ไว้ หลายเทรนด์ได้เกิดขึ้นและสร้างการเปลี่ยนแปลงแล้วในหลายธุรกิจ อีกหลายเทรนด์มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่ปีต่อจากนี้ เราขอยกตัวอย่าง 5 ใน 10 เทรนด์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลและระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล มาให้อ่านกัน ซึ่งได้แก่

digital transformation roadmap
  • เทคโนโลยีเครือข่าย 5G จะกลายเป็นเทคโนโลยีกระแสหลัก ไม่เพียงแค่การใช้สัญญาณอินเตอร์เน็ต การโทร การใช้โซเชียลมีเดียในชีวิตประจำวันเท่านั้น แต่เทคโนโลยี 5G จะถูกนำไปใช้ในการทำธุรกิจ การพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจ โดย 5G เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้กระบวนการทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งในด้านปฏิบัติการ เช่น การประชุมออนไลน์ การใช้งานข้อมูล On Cloud ระบบ Automation ที่พึ่งพาอินเตอร์เน็ต ด้านการผลิต  เช่น ระบบควบคุมเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องอาศัยการเชื่อมต่อวงกว้าง ด้านการมอบประสบการณ์การใช้งานให้กับลูกค้า อาทิ การถ่ายทอดสด การขายสินค้าหรือให้บริการผ่านช่องทางออนไลน์

 

  • Customer Data Platform หรือ CDP จะมีบทบาทมากย่ิงขึ้น ระบบที่มีการเก็บรวบรวมข้อมุลของลูกค้า/ ผู้ใช้บริการ  ไว้ที่ศูนย์กลาง และสามารถรวบรวมข้อมูลจากหลากหลายแหล่งที่มา จัดระเบียบ แยกหมวดหมู่ เพื่อให้ง่ายต่อการใช้ในการวิเคราะห์ Customer Insight, Persona ฯ ซึ่งจะช่วยให้แบรนด์หรือบริษัทสามารถดึงข้อมูลจากศูนย์กลางมาใช้ในการทำการตลาด หรือออกแบบบริการที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า/ ผู้ใช้บริการ  การทำ CDP จะช่วยให้แบรนด์รู้จักลูกค้า เข้าใจเข้าใจความต้องการของลูกค้าได้เร็ว เพิ่มโอกาสทางการตลาด และเพิ่มโอกาสในการแข่งขัน
  • โครงสร้างองค์กรแบบ Hybrid Cloud ทางเลือกใหม่ของธุรกิจยุคดิจิตอล หลายองค์กรหันมาวางโครงสร้างสถาปัตยกรรมองค์กร (Enterprise Architecture) แบบ Hybrid Cloud ซึ่งเป็นการรวมกันระหว่างระบบโครงสร้างพื้นฐานของระบบ Private Cloud และ Public Cloud ซึ่งช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการจัดการ สามารถเข้าถึงข้อมูลและทรัพยากรขององค์กรได้จากทุกที่ ทุกเวลา สอดคล้องกับเทรนด์การทำงานในปัจจุบันที่หลายองค์กร มีการใช้ระบบการทำงานแบบ Hybrid Working/ Work from anywhere ซึ่งมีแนวโน้มว่า หลายๆ องค์กรจะปรับตัวมาใช้ระบบการทำงานลักษณะนี้มากขึ้น

  • ผลักดันและเดินหน้า Privacy and Confidential Computing ความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคล มีมูลค่าอย่างมาก ทำให้องค์กรยักษ์ใหญ่อย่าง Alibaba, Baidu, Arm, Google Cloud, IBM, Intel, Microsoft, Red Hat, Swisscom และ Tencent ได้เริ่มพัฒนาวิธีการและเทคโนโลยีที่จะเข้ามายกระดับการปกป้องข้อมูลหัวใจหลักของ Confidential Computing คือ การเข้ารหัสกระบวนการคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ไม่ใช่แค่ Data เป็นการเพิ่มความมั่นคงปลอดภัยให้กับข้อมูลอีกชั้นกับข้อมูลที่มีความสำคัญ (Sensitive Data) ช่วยแบ่งแยกข้อมูลของผู้ใช้ในหน่วยความจำระหว่างที่กำลังประมวลผล ซึ่งก็คือการป้องกันไม่ให้แอปพลิเคชันที่ไม่เกี่ยวข้อง หรือระบบปฏิบัติการ หรือเซิร์ฟเวอร์คลาวด์ล้วงข้อมูลเหล่านั้นได้นั่นเอง ทั้งหมดนี้จะช่วยปกป้องความเป็นส่วนตัวของผูใช้บริการ และเข้ามาช่วยดูแลข้อมูลส่วนบุคคลภายในองค์กรให้ปลอดภัยยิ่งขึ้น

 อ่านเนื้อหา 10 Digital Transformation Trends ทั้งหมดได้ที่นี่

จากเทรนด์ที่ยกมา ทำให้เห็นว่าข้อมูลส่วนบุคคลจะกลายเป็นสิ่งที่องค์กรให้ความสำคัญอย่างมากในอนาคต  ดังนั้นการริเริ่มวางกลยุทธ์เพื่อปูพื้นฐานการเป็นองค์กรที่ใส่ใจความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล เป็นสิ่งที่องค์กรสามารถดำเนินการได้ทันที หากมีความพร้อมทางด้านทรัพยากรทุนและทรัพยากรบุคคล ทั้งนี้องค์กรต้องประเมินความพร้อมและเข้าใจบริบทปัจุบันของธุรกิจอย่างรอบด้าน อีกทั้งต้องศึกษารายละเอียดและขั้นตอนการทำ DX โดยภาพรวม เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถี่ถ้วน อันจะทำให้การวางแผนริเริ่มโครงการ DX เหมาะสมกับบริบทขององค์กร สอดคล้องกับทรัพยากรทุนและทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่ ซึ่งในหัวข้อถัดไป เราจะนำผู้อ่านทุกท่าน ไปทำความเข้าใจรายละเอียดและขั้นตอนสำหรับการทำ Digital Transformation และ Digital Transformation Roadmap สำหรับองค์กรที่ต้องการริเริ่มการทำ DX

รายละเอียดที่ควรรู้ก่อนทำ Digital Transformation

digital transformation roadmap

ก่อนจะก้าวไปสู่การทำ DX ในองค์กรอย่างเต็มรูปแบบ การจะล้างระบบที่เคยมีอยู่และวางระบบการทำงานในองค์กรใหม่ในทันที อาจจะทำให้เกิด After Shock หรือการที่พนักงานไม่พร้อมรับมือกับระบบการทำงานที่เปลี่ยนไปอย่างฉับพลันได้ และอาจส่งผลให้เกิดความเครียด ความสับสนในตัวพนักงานได้ เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบเหล่านี้ การทำ DX ควรเริ่มจากขั้นตอนพื้นฐาน หรือการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ โดยเริ่มที่ Stage ที่ 1 การทำ ‌Digitization และค่อยๆ ปรับสู่ Stage ที่ 2 ที่เรียกว่า ‌Digitalization

Digitization ‌คือการเปลี่ยนข้อมูลในระบบเดิม เช่นระบบการทำงานแบบ Analog หรือ เอกสาร ให้อยู่ในรูปแบบ E-Document  หรือนำเทคโนโลยีพื้นฐานเข้ามาช่วยในการทำงาน เช่น Document Management System (DMS) คือระบบจัดการเอกสาร ที่จะเปลี่ยนเอกสารกระดาษให้กลายเป็น E-document ในรูปแบบไฟล์ชนิดต่าง ๆ เช่น JPG, PDF ซึ่งจะช่วยให้การจัดเก็บ หรือการส่งต่อนั้นง่ายกว่าเอกสารที่เป็นแผ่น/แฟ้ม

การทำ Digitization ในโครงการ PDPA อยู่ในขั้นตอนการทำ ROP และระบบ Consent ซึ่งแต่เดิมนั้น การทำ ROP เป็นการรวบรวมกิจกรรมการใช้งานข้อมูลส่วนบุคคลในองค์กรด้วย Excel ซึ่งไม่สามารถอัปเดตข้อมูลใหม่เองได้ ยังคงต้องพึ่งพาคนในการเพิ่มข้อมูล และอาจเกิดข้อผิดพลาดได้ง่ายกว่า หากมีการส่งต่อไฟล์เอกสาร และยังเสี่ยงต่อเหตุรั่วไหลอีกด้วย การ Digitization ขั้นตอน ROP คือการดึงระบบ Automation มาใช้แทนโปรแกรม Excel จากที่ต้องใช้คนกรอกข้อมูล อัปเดท หรือตรวจสอบข้อมูล เปลี่ยนไปเป็นการใช้ระบบจัดการ ROP ที่จัดหมวดหมู่ข้อมูลที่เข้ามาในระบบ มีหน้าต่างแสดงผลให้เห็นภาพรวมการไหลเวียนของข้อมูลส่วนบุคคลที่จัดเก็บ อุปกรณ์ที่จัดเก็บ และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลในส่วนดังกล่าวได้

อีกตัวอย่างหนึ่ง คือการขอ Consent แบบเก่า ลูกค้า/ องค์กรต้องจัดเตรียมเอกสารที่เป็นแผ่นกระดาษ และเซ็นเอกสารพร้อมกับนำเอกสารมาส่งที่บริษัท หรือเดินทางมายังบริษัทเพื่อขอแก้ไข/ ยกเลิกข้อมูล เมื่อองค์กรได้เอกสารมาแล้ว จะต้องแยกหมวดหมู่ตามประเภทของ Consent ที่ให้มาแยกตามแฟ้มและจัดเก็บตามตู้เอกสาร เมื่อลูกค้าขอยกเลิก Consent หรือขอแก้ไขข้อมูล ต้องนำเอกสารฉบับนั้นออกมาจากตู้ ซึ่งขั้นตอนการทำงานมีความยุ่งยากและเสียเวลามาก ถ้าหากองค์กร Digitization ขั้นตอนนี้ด้วยการใช้ Digital Consent เข้ามาช่วย จากเดิมที่ใช้เอกสารหรือกระดาษ จะเปลี่ยนไปเป็นการใช้ Web Form หรือ Form Online อื่นๆ ซึ่ง จะช่วยลดขั้นตอนการจัดเก็บ และมอบความสะดวกให้ลูกค้า สามารถขอใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลจากทุกที่ ทุกเวลา ลดภาระงานของพนักงานที่ต้องจัดเก็บ/ ค้นหาเอกสาร ลดต้นทุนการใช้กระดาษและต้นทุนในการจัดเก็บและบำรุงรักษาได้ด้วย 

  • Digitalization ‌คือ การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาต่อยอดธุรกิจ สร้างโมเดลธุรกิจใหม่ แหล่งรายได้ใหม่ และให้คุณค่าใหม่ๆ กับลูกค้า ทั้งในมุมฟังก์ชันและประสบการณ์การใช้งาน เพื่อก้าวสู่การเป็น “ธุรกิจดิจิทัล” เช่น การใช้ระบบ Document & Data Management เพื่อดูแลการจัดเก็บเอกสารและควบคุม Workflow การทำงาน การใช้ Chatbot, Application, Software, หรือ Digital Platform อื่นๆ มาเชื่อมโยงกับระบบเดิม ทำให้ระบบมีความอัตโนมัติและรวดเร็วยิ่งขึ้น อาทิ การใช้ ระบบจัดการร้านค้าออนไลน์ หลายๆ แบรนด์สามารถ รวบรวมแชทลูกค้า Facebook, LINE Official Account, Instagram และตอบแชทจากระบบกลางที่เดียว อัพเดทข้อมูลการขายและคลังสินค้าแบบเรียลไทม์

เมื่อเปลี่ยนผ่านครบทั้งสองขั้นตอนนี้แล้ว จะยังไม่ถือว่าเป็นการ DX องค์กร 100% เช่นเดียวกับการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ การรื้อระบบ IT ในองค์กรใหม่ การซื้ออุปกรณ์ IT ใหม่ให้ทั้งบริษัท หรือพึ่งพา Digital Platform ไม่เท่ากับการทำ Digital Transformation การเปลี่ยนผ่านจะสมบูรณ์แบบก็ต่อเมื่อ องค์กรใช้กลยุทธ์ทางเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานขององค์กรและธุรกิจอย่างครบถ้วนทุกด้าน ครอบคลุมด้านปฎิบัติการ (Operation) ด้านการส่งมอบประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้า (Deliver better customers experience)  การเปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงานในองค์กร (Corporate culture) การทดลองรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ (Experiment new business model)

กล่าวคือ DX จะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อ กระบวนการ Digitization, Digitalization ครอบคลุมในส่วนงานที่เกี่ยวข้อง มีการลงมือปฏิบัติอย่างทั่วถึง และพร้อมเพรียงกันทั้งองค์กร และที่สำคัญคือการ ใช้กลยุทธ์ทางเทคโนโลยีมาสร้างการเปลี่ยนแปลง หรือทำให้ความคุ้นชิน พฤติกรรมเดิม ของคนในองค์กร กระบวนการทำงานในรูปแบบเดิม ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากการใช้ระบบเก่า ถูกเปลี่ยนผ่านสู่ระบบใหม่อย่างสิ้นเชิง และสร้างผลกระทบในระดับธุรกิจ ทั้งผลกระทบต่อรูปแบบการทำงาน ผลกระทบต่อพนักงานในองค์กร ผลกระทบต่อลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ และองค์กรพร้อมรับการพัฒนาในขั้นถัดไป

Digital Transformation Roadmap

Earley Information Science ได้เผยแพร่ White Paper ที่นำเสนอกรอบแนวคิดเรื่อง Digital Transformation Roadmap ภาพรวมของ Digital Transformation Roadmap มีดังนี้

digital transformation roadmap

กรอบแนวคิดขอ Earley แบ่งเป็น 4 ขั้นตอนหลัก เริ่มด้วย

  1. Current Statement Assessment การประเมินบริบท สถานการณ์ ความท้าทายขององค์กรในสถานการณ์ปัจจุบัน
  2. กำหนด Future Vision ที่ชัดเจน ที่องค์กรต้องการจากการทำ DX โดยแบ่งเป็น 4 Track คือ People, Process, Technology, และ Content
  3. Systemic Gaps ระบุช่องวางที่ต้องพัฒนาต่อระหว่างบริบทปัจจุบันและวิสัยทัศน์ที่อยากให้เกิด
  4. กำหนด Business Goal ผลลัพธ์/ สิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นต่อธุรกิจ และแผนกลยุทธ์ (Roadmap) แผนงานหรือแผนการดำเนินการที่จะเกิดขึ้นในแต่ละ Track

Earley  ยังยกตัวอย่าง การประเมินสถานการณ์ปัจจุบันของ Track ต่างๆ และการตั้ง Vision หรือ Goal ขององค์กรในการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีของแต่ละ Track อีกด้วย โดยเริ่มจาก

  • People Track หรือทรัพยากรคน ซึ่งคนในที่นี้ หมายรวมถึง ลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ และพนักงานในองค์กรด้วย Earley ยกให้  People Track เป็น Track ที่สำคัญที่สุด ประเด็นที่องค์กร ควรมีการประเมินบริบท และสถานการณ์ มีดังนี้

– Customer Centric culture
– Partner Enable
– Personalized buyer engagement
– Cross-Functional Collaboration

  • Process Track หรือกระบวนการทำงาน ประเด็นที่องค์กร ควรมีการประเมินบริบท และตรวจเช็คกระบวนการทำงานเหล่านี้

– สมรรถนะหรือความสามารถด้าน business Intelligence ขององค์กร

– Total Operational Integration ซึ่งรวมถึง SAL และ Digital governance

– Digital Marketing Campaign

– Customer Lifecycle Analysis

  • Technology  Track คือการใช้เครื่องมือต่างๆให้เกิดประสิทธิภาพ ในการวางแผน DX องค์กร ควรมีการประเมินบริบท และตรวจสอบกระบวนการดังต่อไปนี้

– Predictive data analytic  

– Integration platforms

– Integration of Data Silos

– Contextual Information Architecture

  • Content Track การจัดการ content รวมทั้งการบริหารจัดการ Asset ต่างๆ ในองค์กรและการเข้าถึง Asset ผ่านช่องทางการเข้าถึงทุกช่องทาง ได้แก่

– Digital Asset management

– Product Information Management

– Enterprise & Site search Optimization

– Data Quality & Governance

ทั้งนี้ Digital Transformation Roadmap ที่ Earley เผยแพร่ออกมานั้น เหมาะกับองค์กรขนาดกลาง-ใหญ่ ที่ตระหนักในเรื่องผลกระทบของ Digital & Technology Disruption และมีการใช้กลยุทธ์หรือกระบวนการทำงานที่คล้ายคลึงกัน อย่างไรก็ตาม องค์กรที่มีความสนใจในการทำ DX สามารถนำแนวทางเหล่านี้ ไปปรับใช้กับองค์กรได้เช่นกัน และหากองค์กรเห็นสมควรว่า Digital Transformation Roadmap ยังไม่เหมาะสมกับบริบทขององค์กร สามารถปรับใช้กลยุทธ์การเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยี ที่พัฒนาให้เข้ากับบริบทขององค์กรไทยได้ เพราะ‌องค์กร สามารถเริ่ม Digital Transformation ด้วยกลยุทธ์ People – Process – Technology เช่นเดียวกับการขับเคลื่อนโครงการ PDPA 

อ่านแนวทาง การขับเคลื่อนโครงการ PDPA ด้วยกลยุทธ์ People – Process – Technology ได้ที่นี่

อีกหนึ่งกลยุทธ์ที่ถือว่าเป็น Next Step ของ Digital Transformation ที่องค์กรไม่ควรมองข้าม และคุ้มค่าต่อการศึกษาเพื่อประโยชน์ต่อการนำมาประยุกต์ใช้ในอนาคต คือ แนวทางการออกแบบระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลโดยคำนึงถึงความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน หรือ Privacy By Design กลยุทธ์นี้คืออะไร มีประโยชน์ต่อองค์กรในอนาคตอย่างไรบ้าง และช่วยสนับสนุนนโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัว นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้อย่างไร? ติดตามในบทความใหม่ของเราในเร็วๆ นี้

บทสรุปของ Digital Transformation

สรุป การทำ Digital Transformation ไม่มีเคล็ดลับความสำเร็จที่ตายตัว ทั้งนี้ เป็นเพราะองค์กรมีวัฒนธรรมการทำงาน โครงสร้างการบริการ หรือรูปแบบการทำงานที่แตกต่างกันออกไป เทรนด์ของ DX ที่ถูกพูดถึงกันนั้น เป็นแนวโน้มที่คาดการณ์จากการเปลี่ยนแปลงทางนวัคกรรมและเทคโนโลยี การคาดการณ์บางอย่างเกิดขึ้นจริงแล้ว และการคาดการณ์บางอย่าง ก็ยังไม่เกิดขึ้นจริง ยังต้องพึ่งพาาอาศัย เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมในอนาคต

ส่วนคำถามที่ว่า Digital transformation จำเป็นต้องรีบดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปีไหน? เป็นคำถามที่ไม่มีคำตอบตายตัว เพราะแต่ละองค์กร มีความพร้อมด้านทรัพยากรมนุษย์  ทุน เทคโนโลยีและศักยภาพในการเปลี่ยนผ่านที่แตกต่างกัน องค์กรต้องประเมินความพร้อมและเข้าใจบริบทปัจุบันของธุรกิจอย่างรอบด้าน อีกทั้งต้องศึกษารายละเอียดและขั้นตอนการทำ DX โดยภาพรวม เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถี่ถ้วน อันจะทำให้การวางแผนริเริ่มโครงการ DX เหมาะสมกับบริบทขององค์กร สอดคล้องกับทรัพยากรทุนและทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่

สำหรับองค์กรที่ดำเนินการเรื่อง Digital transformation ไปบางส่วนแล้ว หรือบรรลุวัตถุประสงค์ในการเปลี่ยนผ่านองค์กร ด้วยกลยุทธ์ทางเทคโนโลยีแล้ว การพัฒนาขั้นถัดไป เป็นตัวเลือกที่องค์กรสามารถเลือก/ ตัดสินใจได้ว่า จะพัฒนาองค์กรไปในทิศทางใด ทว่า หากองค์กรของท่าน กำลังริเริ่มการทำ Digital Transformation และต้องการควบรวม การดำเนินโครงการ PDPA ร่วมกับการทำ Digital transformation แต่ยังลังเล หรือประสบปัญหาในการวางแผนดำเนินการ

t-reg มีบริการให้คำปรึกษา และระบบบริหารจัดการโครงการ PDPA ควบคู่กับการทำ Digital transformation โดยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ และเครื่องมือที่ดูแลได้ครบ จบในที่เดียว

ติดต่อเรา 02-460-9321

FREE EVENT
ร่วมรับฟังแนวทางการรับมือเมื่อเกิดเหตุละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับองค์กรของท่านในการรับมือกับเหตุละเมิดที่อาจเกิดขึ้น โดยผู้เชี่ยวชาญผู้มีประสบการณ์ให้คำปรึกษาด้านกระบวนการ PDPA สำเร็จแล้วกว่า 60 องค์กร และได้รับ Certificate จากสถาบันดิจิทัล (DCT) และมาตรฐานสากล ICDL หลักสูตร Personal Data Protection
RELATED POST
t-reg knowledge

PDPA Checklist แนวทางที่องค์กรไทยควรทำเพื่อรองรับกฎหมาย PDPA

หลายท่านคงรู้จักเกี่ยวกับการทำ PDPA Checklist Thailand กันมาคร่าว ๆ แล้ว แต่ก็มีคำถามในใจอยากรู้ว่าจะต้องทำอย่างไรให้ตรงกับตัวกฎหมายพ.ร.บ.

อ่านต่อ »
Case Study

WARNING! ถูกละเมิดความเป็นส่วนตัว ถูกองค์กรประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลโดยที่เราไม่ยินยอม ทำอะไรได้บ้าง?

กฎหมาย PDPA บังคับใช้อย่างเป็นทางการ พร้อมกับกฎหมายลำดับรองที่ประกาศออกมาแล้ว หากเกิดข้อพิพาท หรือเกิดการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล เจ้าของข้อมูลต้องทำอย่างไร? t-reg

อ่านต่อ »
กระบวนการ PDPA ผ่านเกณฑ์
t-reg knowledge

กระบวนการทำ PDPA ให้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

หลาย ๆ คนอาจหลงทาง ไม่รู้ว่าตกลงเราต้องทำอะไรบ้าง อะไรควรทำก่อนหรือหลัง วันนี้มาลงให้ลึกขึ้นถึง กระบวนการทำ PDPA แบบ “ชัด ๆ” กันดีกว่า

อ่านต่อ »

ส่งต่อบทความดีๆ ได้ที่นี่