]

t-reg PDPA Platform

ทำ PDPA แบบไหน ถึงจะตอบโจทย์พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

เนื้อหาในบทความ

การทำ PDPA ในปัจจุบันมีการให้บริการ 3 รูปแบบก็คือ
1.บริการ Platform ทำ PDPA อย่างเดียว
2.บริการที่ปรึกษาทางด้านกฎหมายอย่างเดียว
3.บริการแพลตฟอร์มทำ PDPA พร้อมด้วยที่ปรึกษาทางด้านกฎหมาย
ซึ่งทั้ง 3 แบบจะมีข้อดี และข้อเสียอย่างไร วันนี้ t-reg มีคำตอบมาให้ทุกท่านได้อ่านกัน โดยเริ่มจาก

บริการแพลตฟอร์ม ทำ PDPA อย่างเดียว

การให้บริการแบบนี้ก็คือระบบช่วยจัดการข้อมูลส่วนบุคคลที่รองรับกฎหมาย PDPA ของประเทศไทย ซึ่งมีความสามารถในการจัดการข้อมูล บริหารสิทธิ์ของเจ้าของข้อมูล และกำกับดูแลความเป็นส่วนตัวของข้อมูลซึ่งองค์กรจะได้รับแค่ตัวแพลตฟอร์มเท่านั้น ไม่ได้มีบริการอื่นมาให้

ข้อดี : องค์กรได้เริ่มทำ PDPA ด้วยตนเองจากเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการทำ PDPA ไม่ว่าจะเป็นการออกเอกสารต่าง ๆ รวมถึงฟังก์ชันสำคัญอย่าง RoP และ Consent Management อีกทั้งยังไม่ต้องพัฒนาระบบเองเพื่อให้งานในองค์กรสอดคล้องกับกฎหมาย PDPA ในปัจจุบัน และอนาคตที่อาจจะมีกฎหมายลูกเพิ่มเติมออกมา

ข้อเสีย : องค์กรเกิดความคลาดเคลื่อน หรือไม่ครอบคลุมหลักการปฏิบัติตามกฎหมาย PDPA เพราะขาดการแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย นอกจากนี้อาจเสียเงิน และเวลาในการหาที่ปรึกษาทางกฎหมาย หรือผู้ให้บริการทั้งสองอย่างคู่กันเพิ่มเติม

บริการให้คำปรึกษาทางกฎหมาย PDPA อย่างเดียว

ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายจะให้บริการปรึกษาเกี่ยวกับ PDPA ในเรื่องของการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล และสิทธิ์ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล   

ข้อดี : องค์กรได้รับแนวทางปฏิบัติสำหรับการทำ PDPA รวมถึงได้รับเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล  

ข้อเสีย : องค์กรอาจจะต้องจัดหาแพลตฟอร์ม หรือซอฟต์แวร์เพิ่มเติมสำหรับการทำตามคำแนะนำของที่ปรึกษา ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาในการจัดหา รวมถึงผู้ให้บริการปรึกษากฎหมาย PDPA บางรายอาจจะให้บริการเป็นรายครั้ง ซึ่งก่อให้เกิดความล่าช้า และไม่ครบถ้วนตามที่กฎหมายพ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกำหนด และอาจจะต้องเสียค่าบริการอีกครั้งหากมีกฎหมายลูกประกาศออกมาเพิ่มเติม

บริการทั้งแพลตฟอร์ม และให้คำปรึกษาทางกฎหมาย PDPA

การบริการรูปแบบนี้คือการผสมผสานระหว่างแพลตฟอร์ม และให้คำปรึกษาควบคู่กัน ซึ่งตอบโจทย์องค์กรที่เริ่มทำ PDPA แต่ไม่รู้จะเริ่มทำอย่างไรให้ครอบคลุมทั้งด้านการจัดการข้อมูล และสามารถดำเนินการตามกฎหมายได้อย่างครบถ้วน โดยการใช้บริการทั้งแพลตฟอร์ม และให้คำปรึกษาทางกฎหมาย PDPA มีข้อดี และข้อเสียดังนี้

ข้อดี : องค์กรได้ทั้งที่ปรึกษาทางกฎหมาย และแพลตฟอร์มสำหรับจัดการข้อมูลส่วนบุคคลที่ครอบคลุมกฎหมายพ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล นอกจากนี้ยังลดเวลา และลดความซับซ้อนในการดำเนินงาน เพราะผู้ให้บริการมีความชำนาญในเรื่อง PDPA  เป็นอย่างดี

ข้อเสีย : องค์กรที่มีข้อมูลส่วนบุคคลปริมาณน้อย และองค์กรที่ไม่ได้มีระบบ Online ในการขอจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลหรือระบบสมาชิกหน้าเว็บไซต์ อาจจะไม่เหมาะกับการใช้บริการรูปแบบนี้ แต่สามารถจัดการข้อมูลส่วนบุคคลที่มีได้ด้วยตนเองและศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ PDPA  ได้ที่ OpenPDPA – Opensource PDPA Guidebook

เมื่ออ่านมาถึงจุดนี้ หลายท่านคงได้คำตอบของข้อดี และข้อเสียของการเลือกใช้บริการทำ PDPA ทั้งตัวแพลตฟอร์มจัดการข้อมูลส่วนบุคคล หรือในด้านที่ปรึกษาทางด้านกฎหมายแล้ว หากองค์กรของท่านต้องการทำ PDPA และไม่รู้จะเริ่มต้นที่ตรงไหน ทางเราขอแนะนำ t-reg  (Thailand Regulatory Platform ) แพลตฟอร์มที่จะช่วยให้องค์กรทำ PDPA ให้สำเร็จได้แบบครบวง สามารถเข้าดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ t-reg ได้ที่ t-reg.co

FREE EVENT

ร่วมฟังแนวทางการยกระดับการบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับองค์กรที่มี Data Subject จำนวนมาก เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กร ด้วยไกด์ไลน์การทำ ROPA ที่เป็นหัวใจสำคัญในการสำเร็จกระบวนการ PDPA ควบคู่กับ Digital Transformation และแบ่งปันข้อมูลเชิงลึก โดยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ให้คำปรึกษาด้านกระบวนการ PDPA สำเร็จแล้วกว่า 60 องค์กร และได้รับ Certificate จากสถาบันดิจิตัล (DCT) และมาตรฐานสากล ICDL หลักสูตร Personal Data Protection

RELATED POST
important PDPA
t-reg knowledge

สรุปสาระสำคัญของ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล!

ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลส่วนตัวรวมทั้งข้อมูลการใช้งานของ User ถ้าหากเก็บรวบรวมดีๆ จะมีมูลค่ามหาศาล แต่นั่นเป็นดาบสองคมที่อาจทำให้มีผู้ไม่ประสงค์ดีขโมยข้อมูลไปใช้

อ่านต่อ »
AI
t-reg knowledge

AI เพื่อการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล อนาคตด้านความปลอดภัยที่เป็นไปได้

เป็นที่รู้กันดีว่า เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน นอกจากจะถูกนำมาประยุกต์ใช้ในธุรกิจ กิจการ กิจกรรมต่างๆ มากมายแล้ว

อ่านต่อ »
PDPA คืออะไร
t-reg knowledge

PDPA คืออะไร ?

PDPA ย่อมาจาก Personal Data Protection Act พ.ร.บ. นี้เป็นกฎหมายว่าด้วยการให้สิทธิ์กับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล สร้างมาตรฐานการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลให้ปลอดภัย และนำไปใช้ให้ถูกวัตถุประสงค์ตามคำยินยอมที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอนุญาต

อ่านต่อ »
ข้อมูลส่วนบุคคล ลูกเสือ
t-reg news

ข้อมูลส่วนบุคคล ของลูกเสือยังโดนขโมย

จงเตรียมพร้อม ไม่ได้ใช้เพื่อปฏิญาณในฐานะลูกเสือแค่นั้น แต่ CyberSecurity ก็ใช้ด้วย เพราะล่าสุด ข้อมูลส่วนบุคคล รั่วไหลเกิดกับเหล่า Scout แล้ว

อ่านต่อ »
pdpa thailand
t-reg knowledge

สรุปเทรนด์ PDPA Thailand 4 เดือนหลังประกาศใช้ พร้อมทำความเข้าใจ PDPA X Digital Transformation

ธุรกิจไทยได้รู้จักกับกฎหมาย PDPA กฎหมายเพิ่มเติม แนวทางย่อย และรู้จักกับเครื่องมือในการทำโครงการ PDPA กันบ้างแล้ว หลายๆ

อ่านต่อ »

ส่งต่อบทความดีๆ ได้ที่นี่